วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปผล

KANBAN เป็นกลไกในการให้จังหวะในการบริหารกระบวนการผลิตแบบ Just In Time ทำให้เกิดการไหลลื่นของกระบวนการผลิตต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสต็อคของยาและเวชภัณฑ์ ตามแผนกที่มีการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาล เช่น แผนกผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องจ่ายยา และจะทำให้สามารถลดความยุ่งยากในการจัดเบิกยาและเวชภัณฑ์ของแผนกต่างๆได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันการทุจริตหรือการสูญหายได้เป็นอย่างดี เพราะทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ( นับว่าเป็น Poka Yoke สำหรับการป้องกันการสูญหายได้ )

การวิเคราะห์ วิจารณ์

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตแบบคัมบังซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเด็นสำคัญของการวางแผนในระบบคัมบังคือลูกค้าพยากรณ์ยอดความต้องการให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนล่วงหน้าเป็นรายเดือนหรือยาวกว่านั้น จากนั้นเรียกชิ้นส่วนด้วยใบคัมบังเป็นรายวัน ผู้วางแผนการผลิตชิ้นส่วนจะต้องวางแผนการผลิต ล่วงหน้าเพื่อตอบสนองต่อการเรียกชิ้นส่วนซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง การวางแผนการผลิตจึงมักจะมี การแตกเป็นหลายล็อตผลิตโดยที่แต่ละล็อตมีขนาดไม่เล็กจนเกินไป โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้มี จุดเด่นตรงที่มุ่งเน้นตอบสนองการใช้งานจริงของผู้วางแผนการผลิตชิ้นส่วนให้มากที่สุดโดยใช้ โรงงานขึ้นรูปโลหะโดยกระบวนการทุบขึ้นรูปร้อนเป็นกรณีศึกษา จุดเด่นที่สำคัญของโปรแกรมที่ พัฒนาขึ้นนี้ได้แก่
(1) สามารถใช้วางแผนผลิตทำแบบผลิตตามคา สั่งซื้อและผลิตแบบเก็บสต็อกรอเบิกจากคัมบัง
(2) การคำนวณปริมาณการสั่งผลิตโดยรวบรวมปริมาณระหว่างการผลิตมาพิจารณา
(3) การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แยกล็อตผลิตได้ตามความต้องการรวมทั้งระบบในการตรวจติดตามการ ผลิตแต่ละล็อต
 (4) ระบบการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นแบบแบบไหล (flow shop scheduling) และแบบ เป็นงานๆ (job shop scheduling) อยู่รวมกันและมีการส่งงานให้ผู้รับเหมาภายนอกดา เนินการด้วย
(5) การปรับแก้ตารางการผลิตได้โดยง่ายไม่ว่าจะเป็นการน ารายงานการผลิตประจำวันมาปรับแก้ แผนการผลิตโดยอัตโนมัติ การเปิดทา งานล่วงเวลา การย้ายงานโดยการเปลี่ยนเครื่องจักรทา งาน
(6) การคำนวณต้นทุนค่าแรงทางตรงและโสหุ้ยโดยการปันส่วนตามเวลาทา งานของแต่ละออเดอร์ และ
(7) การสร้างรายงานประเมินผลการทา งานของฝ่ายผลิต รวมทั้งแผนการตรวจติดตามงานต่างๆ ร่วมกับฐานข้อมูลไมโครซอฟต์แอกเซสใช้งาน บนระบบเซิร์ฟเวอร์ของโรงงาน  
ระบบการทำงานของคัมบังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาการทำงานขององค์กรได้ดีอีกวิธีหนึ่งวิธีการกำหนดตารางการผลิตและการติดต่อสื่อสารระหว่างกระบวนการ เพื่อหลีกเลี่ยง  การผลิตที่มากเกินไป  ระบบคัมบังจะช่วยในการลดการผลิตมากเกินไป  และมุ่งหมายเพื่อผลิตสิ่งที่สั่ง ในเวลาที่สั่ง และตามจำนวนที่สั่งเท่านั้น  

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎี และการใช้ระบบคัมบัง

ระบบคัมบัง (Kanban System) หมายถึง ส่วนหนึ่งของระบบ JIT ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทำงานมีการประสานงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ระบบคัมบังของโตโยต้าใช้แผ่นกระดาษเพื่อเป็นสัญญาณแสดงความต้องการให้มีการ ส่ง ชิ้นส่วนเพิ่มเติม (Conveyance Kanban : C-card ) และใช้แผ่นกระดาษเดียวกันหรือที่มีลักษณะ เหมือนกันเพื่อเป็นสัญญาณแสดงความต้องการให้ ผลิตชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น (Production Kanban : P-card ) ซึ่งบัตรนี้จะติดไปกับภาชนะ ( Container ) ที่ใส่วัตถุดิบ หรือระบบบัตรสองใบ ( Two-card System ) โดยมีเกณฑ์สำหรับการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1.ในแต่ละภาชนะจะต้องมีบัตรอยู่ด้วยเสมอ
2.หน่วยงานประกอบจะเป็นผู้เบิกจ่ายชิ้นส่วนจากหน่วยผลิตโดยระบบดึง
3.ถ้าไม่มีใบเบิกที่มีคำสั่งอนุมัติ จะไม่มีการเคลื่อนภาชนะออกจากที่เก็บ
4.ภาชนะจะต้องบรรจุชิ้นส่วนในปริมาณที่ถูกต้องและมีคุณภาพที่ดีเท่านั้น
5.ชิ้นส่วนที่ดีเท่านั้นที่จะถูกจัดส่งและใช้งานในสายการผลิต
6.ผลผลิตรวมจะไม่มากเกินไปกว่าคำสั่งการผลิตที่ได้บันทึกลงใน P-card และวัตถุดิบที่เบิกใช้จะต้องไม่มากเกินกว่าจำนวนชิ้นส่วนที่บันทึกลงใน C-card
สัญลักษณ์ของ Kanban ไม่จำเป็นต้องเป็นไปในรูปลักษณะของบัตรเพียงอย่างเดียว ยังสามารถแทนได้ด้วยสื่อสัญลักษณ์อื่น ดังต่อไปนี้
ระบบภาชนะ (Container) ตัวภาชนะเองอาจจะใช้แทนบัตรได้ คือ เมื่อภาชนะว่างลงแสดงว่าต้องการชิ้นส่วนเพิ่มเติม ระบบนี้จะใช้งานได้ดี เมื่อภาชนะได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถบรรจุวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนได้อย่างพอดี และไม่ก่อให้เกิดความสับสน
ระบบไม่ใช้ภาชนะ (Container less) แต่อาจจะเป็นพื้นที่การทำงานในสายการผลิตสำหรับกำหนดพื้นที่สำหรับวางวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนก็ได้ เมื่อพื้นที่บริเวณด้งกล่าวว่างลงก็เป็นสัญญาณที่บอกได้วาต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนมาเพิ่ม รวมทั้งยังเป็นสัญญาณบอกได้ถึงว่าหน่วยงานผลิตอื่นต้องทำการผลิตต่อได้ด้วย
คัมบัง” (Kanban) คือวิธีการกำหนดตารางการผลิตและการติดต่อสื่อสารระหว่างกระบวนการ เพื่อหลีกเลี่ยง  การผลิตที่มากเกินไป (Overproduction) และสินค้าคงคลังที่มากเกินไป (Overstock)   วิธีการและเป้าหมายที่อธิบายในหนังสือนี้ เป็นส่วนสำคัญของระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกที่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์
ระบบคัมบังเป็นตัวกำหนดปริมาณการผลิตในทุกๆ กระบวนการ สิ่งนี้ถูกเรียกว่าเป็น ระบบประสาทของการผลิตแบบลีน เพราะว่าจะจัดการการผลิตเสมือนกับสมองและประสาทของมนุษย์ที่ควบคุมร่างกายของเรา  ประโยชน์เบื้องต้นก็คือ การลดการผลิตมากเกินไป  และมุ่งหมายเพื่อผลิตสิ่งที่สั่ง ในเวลาที่สั่ง และตามจำนวนที่สั่งเท่านั้น  
คัมบังเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง ป้าย หรือ สัญญาณ และถูกใช้เป็นชื่อสำหรับการเรียกป้ายการควบคุมวัตถุดิบในระบบดึง
การจะทำระบบคัมบังนั้นจำเป็นต้องรู้ในสิ่งต่อไปนี้
- ระบบคัมบังและความสูญเปล่า (Waste) ชนิดต่างๆ ที่เทคนิคนี้สามารถช่วยกำจัดได้  
- พื้นฐานของคัมบัง อันได้แก่ หน้าที่ กฎ และชนิดของคัมบัง  
- ขั้นตอนหลักสำหรับการสร้างตารางการผลิตในระบบคัมบัง เช่น กำหนดจำนวนใบคัมบัง คำนวนจังหวะการผลิต (Takt Time)  การปรับสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) และการปรับเรียบภาระงาน (Load Leveling หรือ Heijunka)
- วิธีการที่จำเป็นในการประยุกต์ใช้ระบบคัมบัง เมื่อไหร่จึงควรผลิต เมื่อไหร่จึงดึง และจะสร้างคัมบังได้อย่างไร   รวมถึง การใช้คลังย่อยที่เรียกว่า ซูเปอร์มาร์เก็ต”  พนักงานขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานที่เรียกว่า “Water Beetle” และเส้นทางวิ่งวนรับ-ส่งชิ้นส่วนที่เรียกว่า “Milk Run”
- การใช้ระบบคัมบังเสมือนเป็นเครื่องมือการปรับปรุง
คัมบัง (KANBAN) หมายถึง บัตร แผ่นป้ายหรือสัญลักษณ์ที่สามารถบอกถึงการไหลของงาน Kanban ได้ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงาน เมื่อมีการนำไปใช้เกิดขึ้น ระบบจะส่งสัญญาณการเติมเต็มไปยังแหล่งจัดส่ง เพื่อให้ทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดส่งมีการตอบสนองต่อการนำไปใช้จริงๆ อย่างสม่ำเสมอ
วิธีในการเลือกใช้สัญญาณ KANBAN ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติใช้ เช่น
- การ์ดคัมบัง (KANBAN Card)                                                                                        
- การมองเห็น (Look-see)
- การส่งอีเมลล์ (E-mails)
- คัมบังแบบอิเลคทรอนิกค์ (Electronic KANBAN)
 ส่วนประกอบสำคัญในการทำระบบคัมบังแบบใช้การ์ด
1. เนื่องจากระบบคัมบังสนับสนุนการทำงานแบบทันเวลาพอดี (JIT : Just-In-Time)จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวัตถุดิบเตรียมพร้อมอยู่เสมอ(วัตถุดิบคงเหลือเพื่อความปลอดภัย ( Safety Stock)รอถูกเรียกเพื่อทดแทน
- ที่คลังสินค้าของตัวโรงงานผลิตรถยนต์จะต้องมีวัตถุดิบคงเหลือเสมอเพื่อพร้อมจ่ายทดแทนเข้าสายผลิตเมื่อใดก็ตามที่ถูกร้องขอผ่านการ์ดคัมบัง
- ที่ suppliers ผู้ผลิจวัตถุดิบจะต้องมีวัตถุดิบคงเหลือเสมอเพื่อพร้อมจ่ายทดแทนไปยังคลังสินค้าเมื่อใดก็ตามที่ถูกร้องขอผ่านการ์ดคัมบัง
2. การ์ดคัมบัง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเปรียบเสมือนธนบัตรที่ลูกค้านำไปแลกซื้อสินค้ามาทดแทนจำนวนที่หมดไป
- สายผลิตเป็นลูกค้าของฝ่ายคลังสินค้า
- ฝ่ายคลังสินค้าเป็นลูกค้าของ suppliers ผู้ผลิตวัตถุดิบ
รายละเอียดจำเป็นที่ต้องระบุบนการ์ดคัมบัง
1. ชื่อวัตถุดิบ
2. ชื่อผู้ผลิตวัตถุดิบ (ช่วยป้องกันปัญหาสับสนเมื่อมีผู้ผลิตมากกว่าหนึ่งที่ผลิตและส่งวัตถุดิบนั้นๆ)
3. จำนวนชิ้นงาน (เปรียบเสมือนมูลค่าของธนบัตร) 
- เพื่อง่ายต่อการติดตาม และง่ายต่อการคำนวณหา Safety Stock จำนวนบรรจุของชิ้นงานต่อกล่องควรจะเป็นมาตรฐาน
4. เลขที่ของการ์ด เพื่อใช้ในการติดตาม
- จำนวนการ์ดที่ถูกพิมพ์ออกมาสามารถคำนวณได้จาก (จำนวน Safety Stock ที่จัดเก็บ + lead-time ในการรับของงวดใหม่)/จำนวนบรรจุวัตถุดิบนั้นต่อกล่อง
- จะเห็นได้ว่าการ์ดคัมบังมีความสำคัญมากเมื่อเกิดการสูญหาย ย่อมเป็นการเสี่ยงที่จะไม่ได้รับของทดแทนทันตาม lead-time ที่ได้วางไว้เนื่องจากไมมีการ์ดแลกวัตถุดิบเข้ามาใหม่
ระบบ Kanban ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทโตโยต้า ใช้ระบบการควบคุมการไหลของงานและการเบิกจ่ายวัตถุดิบโดยใช้ระบบบัตร 2 ประเภท คือ บัตรสั่งทำ (Production Order Card) และบัตรเบิกใช้ (Withdrawal Card) ซึ่งบัตรนี้จะติดไปกับภาชนะ (Container) ที่ใส่วัตถุดิบหรือระบบบัตรสองใช้ (Two-card System) 
โดยมีเกณฑ์สำหรับการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
       - ในแต่ละภาชนะจะต้องมีบัตรอยู่ด้วยเสมอ
       - หน่วยงานประกอบจะเป็นผู้เบิกจ่าย ชิ้นส่วนจาหน่วยผลิต โดยระบบดัง
       - ถ้าไม่มีใบเบิกที่มีคำสั่งอนุมัติ จะไม่มีการเคลื่อนภาชนะออกจากที่เก็บ
       - ภาชนะจะต้องบรรจุชิ้นส่วนในปริมาณที่ถูกต้องและมีคุณภาพที่ดีเท่านั้น
       - ชิ้นส่วนที่ดีเท่านั้น ที่จะถูกจัดส่งและใช้งานในสายการผลิต
       - ผลผลิตรวมจะไม่มากเกินไปกว่าคำสั่งการผลิตที่ได้บันทึกลงใน Card สั่งผลิต และนั่นก็หมายถึงว่า วัตถุดิบที่เบิกใช้จะต้องไม่มากกว่าจำนวนชิ้นส่วนที่บันทึกลงในบัตรเบิกชิ้นส่วน
          สัญลักษณ์ของ Kanban ไม่จำเป็นต้องเป็นไปในรูปลักษณะของบัตรเพียงอย่างเดียว ยังสามารถแทนได้ด้วยสื่อสัญลักษณ์อื่น ดังต่อไปนี้
                  - ระบบภาชนะ (Container) ตัวภาชนะเองอาจจะใช้แทนบัตรได้ คือ เมื่อภาชนะว่างลงแสดงว่าต้องการชิ้นส่วนเพิ่มเติม ระบบนี้จะใช้งานได้ดี เมื่อภาชนะได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถบรรจุวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนได้อย่างพอดี และไม่ก่อให้เกิดความสับสน
                  - ระบบไม่ใช้ภาชนะ (Container less) แต่อาจจะเป็นพื้นที่การทำงานในสายการผลิตสำหรับกำหนดพื้นที่สำหรับวางวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนก็ได้ เมื่อพื้นที่บริเวณด้งกล่าวว่างลงก็เป็นสัญญาณที่บอกได้วาต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนมาเพิ่ม รวมทั้งยังเป็นสัญญาณบอกได้ถึงว่าหน่วยงานผลิตอื่นต้องทำการผลิตต่อได้ด้วย
ความจริงบัตร ภาชนะ หรือรูปภาพอื่นๆ เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงความต้องการวัสดุหรือการดำเนินงาน ดังนั้นถ้าเราสามารถใช้รูปแบบอื่นในการแสดงความต้องการวัตถุดิบได้ก็จะทำให้ระบบ JIT สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ดีผู้ใช้ระบบ JIT สมควรต้องมีพื้นฐานความเข้าใจว่าการผลิตกรดึงของความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้งานวัตถุดิบและทรัพยากรผลิตหรือการดำเนินงานเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
รูปแบบการดำเนินงานระบบคัมบังประยุกต์ใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร กล่าวคือ
1. ภายในองค์กรการประกอบรถยนต์ การ์ดคัมบัง นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียกวัตถุดิบทดแทนจากคลังสินค้าไปยังหน่วยงานการผลิต
2. การ์ดคัมบังที่ฝ่ายผลิตนำมาแลกวัตถุดิบทดแทน ก็จะนำส่งต่อไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนวัตถุดิบเพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความต้องการวัตถุดิบทดแทนที่คลังสินค้าของโรงงานประกอบรถยนต์
 KANBAN - Pull System การผลิตเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ และในเวลาที่ลูกค้าต้องการ เช่น ในกระบวนการที่ (กระบวนการที่ 1 นี้ อาจจะเป็น Store หรือ Warehouse ก็ได้) จะผลิตหรือส่งชิ้นงานให้กับกระบวนการที่ 2 ก็ต่อเมื่อกระบวนการที่ 2 ต้องการ
KANBAN - Push System การผลิตที่ไม่สนใจว่าลูกค้าต้องการหรือไม่ ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ จะทำการผลิดออกมาโดยไม่สนใจความต้องการของลูกค้า เช่น กระบวนการที่ 1 จะทำการผลิดหรือส่งชิ้นส่วน โดยที่ไม่สนใจว่าลูกค้าของตนเอง คือกระบวนการที่ 2 มีความต้องการหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่ผลิตออกมา เมื่อไม่ตรงกับความต้องการของกระบวนการที่ 2 ก็จะกลายเป็นงานระหว่างผลิตหรือ WorkIn Progress โดยอัตโนมัติ แบบไม่จำเป็น
 ประโยชน์ของการทำงานระบบคัมบัง
1. ปรับปรุงการไหลเวียนวัตถุดิบระหว่าง supplier คลังสินค้า และหน่วยงานผลิต
2. เพิ่มศักยภาพการควบคุมการไหลเวียนวัตถุดิบไปยังหน่วยงานที่ใช้วัตถุดิบนั้นโดยตรง
3. ลดปัญหาการส่งวัตถุดิบล่าช้า หรือขาดส่งวัตถุดิบ เพราะมี lead time ที่แน่นอนในการนำส่งวัตถุดิบ
4. ลดจำนวนสินค้าคงคลังที่จัดเก็บ ไม่แบกรับภาระจัดเก็บวัตถุดิบเกินความต้องการใช้
         KANBAN อ่านว่ากัมบัง เป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบ JIT ( Just In Time ) โดยมีต้นกำเนิดมาจากวิศวกรของโตโยตา ซึ่งไปดูงานในอเมริกาในราวปี 1940 เข้าไปซื้อของในร้านขายของชำเล็กๆแห่งหนึ่ง สังเกตุเห็นว่า เมื่อเวลาสินค้าที่วางอยู่บนชั้นถูกซื้อไป ไม่นานนักก็จะมีคนเอาสินค้ามาเติมแทนที่ ทำให้สงสัยว่าทางสต็อครู้ได้อย่างไรว่า จะต้องเอาอะไรมาเติมและจำนวนเท่าไหร่ เพราะไม่เห็นมีใครไปเดินนับสินค้าเลย ด้วยความสงสัยจึงไปสอบถามจากพนักงานเก็บเงินว่ารู้ได้อย่างไรว่าจะต้องเอาสินค้าอะไรมาเติม พนักงานเก็บเงินก็บอกว่าสินค้าทุกชิ้นจะมีสลิปกำกับไว้ เมื่อขายสินค้าไปก็จะดึงสลิปมาเก็บไว้ เมื่อถึงเวลาที่จะเติมสินค้าก็จะเอาสลิปเหล่านี้ไปเบิกสินค้ามาเติมบนชั้นวางสินค้าทำให้รู้ได้ว่าจะต้องเอาอะไรมาเติมและจำนวนเท่าใด ในทางอุตสาหกรรมการผลิตKANBANก็คือกลไกที่ส่งสัญญานให้กระบวนการผลิตที่อยู่ถัดไปเริ่มกระบวนการทำงาน โดยเมื่อมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าไปแล้ว ก็จะเอาสลิปไปเบิกวัตถุดิบมาทดแทน เมื่อทางแผนกที่ผลิตวัตถุดิบผลิตขึ้นมาแล้วก็จะนำมาส่งพร้อมกับสลิป ส่วนแผนกของตัวเองก็เอาสลิปไปเบิกวัตถุดิบเพื่อมารอเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

บทนำ

     Kanban System(ระบบคัมบัง)ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทโตโยต้าเมื่อปลายปี ค.ศ. 1940 (ปลาย พ.ศ. 2483)เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพ การเติมเต็มสินค้า ในสายการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT : Just-In-Time) ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ JIT ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพ และควบคุมการไหลของงาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
      คัมบัง” (Kanban) คือวิธีการกำหนดตารางการผลิตและการติดต่อสื่อสารระหว่างกระบวนการ เพื่อหลีกเลี่ยง  การผลิตที่มากเกินไป (Overproduction) และสินค้าคงคลังที่มากเกินไป (Overstock)   วิธีการและเป้าหมายที่อธิบายในหนังสือนี้ เป็นส่วนสำคัญของระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกที่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์
     “ระบบคัมบังเป็นตัวกำหนดปริมาณการผลิตในทุกๆ กระบวนการ สิ่งนี้ถูกเรียกว่าเป็น ระบบประสาทของการผลิตแบบลีน เพราะว่าจะจัดการการผลิตเสมือนกับสมองและประสาทของมนุษย์ที่ควบคุมร่างกายของเรา  ประโยชน์เบื้องต้นก็คือ การลดการผลิตมากเกินไป  และมุ่งหมายเพื่อผลิตสิ่งที่สั่ง ในเวลาที่สั่ง และตามจำนวนที่สั่งเท่านั้น  
     “คัมบังเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง ป้าย หรือ สัญญาณ และถูกใช้เป็นชื่อสำหรับกาเรียกป้ายการควบคุมวัตถุดิบในระบบดึง